ข่าวประชาสัมพันธ์    

การตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาการใช้งานเครือข่ายเบื้องต้น

 

  ปัญหาของการใช้งานระบบเครือข่าย(อินเทอร์เน็ต)ของมหาวิทยาลัยไม่ได้นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้นเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

1. สาเหตุของปัญหา 

  การเชื่อต่อระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้ เกิดจากหลายสาเหตุ สรุปหลักๆได้ดังนี้

  1.1. ไม่ได้ลงทะเบียน Mac Address ของอุปกรณ์ที่จะใช้งาน หรือ ลงทะเบียนหมายเลข Mac Address ของอุปกรณ์ผิด

  1.2. มีจำนวนผู้ใช้งานระบบเครือข่ายเป็นจำนวนมากทำให้หมายเลข ไอพี แอดเดรส (IP Address) ไม่เพียงพอ

  1.3. มีการนำเอาอุปกรณ์กระจายสัญญาณ จำพวก เร้าเตอร์(Router) มาต่อเข้ากับระบบเครือข่าย

  1.4. มีผู้ใช้งานโปรแกรมที่กีดกันการใช้งานเครือข่ายของผู้อื่น

2. การตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุเบื้องต้น 

  ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุได้ด้วยตนเองโดย

  - หากใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ให้สังเกตุไอคอนของเครือข่ายที่มุมขวาล่างของหน้าจอจะเห็นไอคอนสถานะของการเชื่อมต่อเครือข่าย

   จากนั้นทำการคลิ๊กขวาที่ไอคอนสถานะเครือข่าย มุมขวาล่างของหน้าจอ

   สำหรับ Windows XP ให้เลือก Status แล้วจะปรากฏหน้าต่าง Wireless Network Connection Status ขึ้นมา ให้คลิ๊กที่แท็ป Support แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Detail

   สำหรับ Window Vista หรือเวอร์ชันที่ใหม่กว่าให้คลิ๊กขวาที่ไอคอน แล้วเลือก Open Network and Sharing Center จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ให้คลิ๊กที่ Wireless Network Connection (สำหรับ Windows 8 จะปรากฏคำว่า  Wi-Fi )ปรากฏหน้าต่าง Wireless Network Connection Status ขึ้นมา ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Detail แล้วดูที่ IP Address(หากเป็น Windows XP) หรือ IPv4 Address(หากเป็น Windows เวอร์ชันที่ใหม่กว่า)

 - หากใช้ระบบปฏิบัติการ OSx ให้สังเกตุไอคอนของเครือข่ายที่มุมขวาบนของหน้าจอ

  จากนั้นให้คลิ๊กที่ไอคอนแสดงสถานะของเครือข่าย แล้วเลือก Open Network Preferences… จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ให้คลิ๊กที่ Wi-Fi ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Advance… ทางด้านมุมขวาล่าง แล้วคลิ๊กที่แท็ป TCP/IP และ DNS เพื่อตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรส

3. การวิเคราะห์สาเหตุ 

  จากเห็นรายละเอียดของการเชื่อมต่อเครือข่าย(Network Connection Detail) โดยปกติแล้วหมายเลขไอพีแอดเดรสที่ได้รับควรจะขึ้นต้นด้วย 158.108.x.x  จึงจะสามารถใช้งานเครือข่ายได้ ดังนั้นสามารถนำหมายเลขไอพีแอดเดรสมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาได้ดังนี้

3.1.  หมายเลขไอพีแอดเดรสขึ้นต้นด้วย 158.108.x.x แต่ไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ให้ดูที่ Gateway และ DNS Server

- หากได้รับหมายเลขแอดเดรส ทั้ง Gateway และ DNS Server แสดงว่าการเชื่อมต่อกับเครือข่ายปกติ แต่จำนวนผู้ใช้มากทำให้ไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เนื่องจาก Bandwidth เต็ม หรือ มีเครื่องที่ติดไวรัสแล้วส่งผลกับระบบเครื่อข่าย ทำให้ Bandwidth เต็ม หรืออาจมีผู้ใช้งานบางคนใช้โปรแกรมเพื่อกีดกันการใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ผู้อื่นไม่สามารถใช้งานได้ เช่นโปรแกรมจำพวก Net cut

- หากไม่ได้รับหมายเลขแอดเดรส ทั้ง Gateway และ DNS Server แสดงว่ามีปัญหาจากการรับแอดเดรสจาก Server

 

3.2.  หากหมายเลขไอพีแอดเดรสขึ้นต้นด้วย 192.x.x.x แสดงว่ามีผู้ใช้งานคนอื่นนำอุปกรณ์กระจายสัญญาณ เช่น Router มาใช้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับการตั้งค่าของอุปกรณ์ที่ถูกต้อง ทำให้อุปกรณ์นั้นจ่ายไอพีแอดเดรสเข้ามาสู่ระบบเครือข่าย ซึ่งไอพีแอดเดรสที่จ่ายออกจากอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้

3.3.  หากหมายเลขไอพีแอดเดรสขึ้นต้นด้วย 169.x.x.x แสดงว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสเต็ม หรือไม่ได้รับหมายเลขไอพีแอดเดรสจากเซิร์ฟเวอร์

4.  การทดสอบการใช้งานเครือข่าย 

  หากได้รับไอพีแอดเดรสปกติสามารถทดสอบการใช้งานรับส่งข้อมูลในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ตามขั้นตอนดังนี้

 

4.1. หากเป็นระบบปฏิบัติการ Windows ให้กดปุ่ม Windows Logo + ปุ่ม R บนคีย์บอร์ด จะปรากฏหน้าต่าง Run ขึ้นมา แล้วพิมพ์ cmd แล้วกดปุ่ม Enter จะปรากฏหน้าต่าง Command Prompt ขึ้นมา

4.2. หากเป็นระบบปฏิบัติการ OSx ให้ไปที่เมนู Go->Utilities แล้วเปิดโปรแกรม  ขึ้นมา

 

จากนั้นใช้คำสั่ง ping ตามด้วย URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการทดสอบ ตัวอย่างเช่น ping www.google.co.th –t หาก Bandwidth ปกติจะพบข้อความว่า “Reply from” หากหนาแน่นจะพบข้อความ “Request time out” ปรากฏขึ้นสลับกันในบางขณะ หากพบข้อความ “Request time out ต่อเนื่องแสดงว่า Bandwidth เต็ม หรือมีปัญหากับระบบในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

หากทดสอบตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วผลที่ได้ คือ Request time out แล้วให้ลอง ping ไอพีแอดเดรสที่เป็น gateway ดูว่าสามารถติดต่อได้หรือไม่ โดย ไอพีแอดเดรสของ Gateway สามารถดูได้จากการตรวจสอบในข้อ 2 หากเป็น Windows ให้ดูที่ IPv4 Default Gatway ส่วน OSx ดูที่หัวข้อ Router

หากทดสอบแล้วได้ผลลัพธ์ เป็น Reply From  แสดงว่าปัญหามาจากมีการใช้งาน Bandwidth เต็ม หากผลลัพธ์ ยังคงเป็น Request time out อาจเป็นไปได้ว่ามีผู้นำเอาโปรแกรม Netcut มาใช้งาน ให้ทำการตรวจสอบโดยใช้คำสั่ง arp –a แล้วให้ดูที่หัวข้อ Physical Address ของ Internet Address ที่เป็น Gateway ทุกครั้งที่ใช้คำสั่งข้างต้น Physical Address จะต้องเหมือนกันทุกครั้ง

หากไม่เหมือนกันแสดงว่ามีผู้นำโปรแกรม Netcut มาใช้งาน หรือสามารถใช้โปรแกรม Wireshark เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยให้ทำการ Capture  Interface ของเครื่อง ให้ดูที่หัวข้อ Protocal  ที่เป็น ARP ที่ส่งมาจาก ไอพีแอดเดรสเดียวกันเป็นจำนวนมาก  แสดงว่ามีผู้นำโปรแกรม Netcut มาใช้งาน


Credit ::  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขต